เซนเซอร์การ์ตูน แบบอเมริกัน เซนโง่ หรือไม่โง่ ลองมาดูกันครับ ^ ^

อ่านๆ Hikaru No Go หรือ ฮิคารุเซียนโกะเวอร์ชั่นตีพิมพ์ภาษาอังกฤษที่จัดพิมพ์โดย Viz Media อยู่น่ะครับ ฝึกภาษาไปเรื่อยๆ เอ้าไว้เป็นพื้นฐานสักหน่อย (เอาไว้ไปเที่ยวตปท.)
ก็พบเรื่องที่น่าสนใจในสไตล์การเซนเซอร์ ของทางสำนักพิมพ์ต่างประเทศอย่างอเมริกาน่ะครับ เลยเอามาให้ดูกันหน่อย

ในประเทศไทยเรานั้น สำหรับเวอร์ชั่นหนังสือการ์ตูนมักจะเจอการเซนเซอร์ในด้านตัวหนังสือศีลธรรม หรือทำตัวหนังสือใหญ่ๆ บังภาพที่ต้องการเซนเซอร์นั่นเอง
หรือหากเป็นการ์ตูนอนิเมชั่น ก็อาจจะมีการเบลอภาพ หรือทำหมอกขาวๆนั่นเอง
...
ซึ่งหลายๆคนก็อาจจะบ่นๆว่า เซนเซอร์แบบนี้ มีแต่ในไทยเท่านั้นล่ะ
หากมองถึงประเทศที่สิทธิเสรีภาพมีความเป็นอิสระอย่างอเมริกาล่ะก็ คงไม่มีแบบนี้เป็นแน่แท้

...
...
...

แต่จริงๆแล้ว อเมริกาก็มีเซนเซอร์ที่แรงเช่นกัน ไม่ได้เป็นอย่างที่หลายๆคนคิดครับ
แต่จุดเด่นของการเซนเซอร์แบบอเมริกานั้น มีการกำหนดขอบเขตที่น่าสนใจทีเดียว ลองมาดูกันครับ

เริ่มด้วยการจัดเรทของหนังสือครับ
Hikaru No Go ถูกจัดเป็นหนังสือประเภท A หรือ All Ages ดังรูปครับ ซึ่งมีระบุไว้ในหนังสือชัดเจน

และ เมื่ออเมริกาจัดเรทหนังสือเล่มนี้ว่าเป็น All Ages แล้ว
อเมริกาเองก็เข้มเรื่องการเซนเซอร์เหมือนกัน และเซนเซอร์ได้ในระดับที่เรียกว่า "แฟนการ์ตูนช็อคกันไปเลย"
เพราะพี่แกเซนเซอร์ขนาดที่ว่า "เนื้อหาในจุดนั้นเปลี่ยนไปเลย" ... ลองดูรูปครับ ที่คางะถืออยู่ทางมุมบนซ้ายของรูป คือ "ประทัด" ครับ (Firecrackers)
จากรูป คิดว่าคนที่เห็นต้นฉบับก็คงจะเก็ท ว่าจริงๆน่ะ นั่นมัน "บุหรี่" ครับ
แต่พี่อเมริกาเล่นเซนเซอร์แบบไม่ลบภาพ แต่แอบตกแต่งภาพบุหรี่ ให้เปลี่ยนเป็นประทัดซะงั้น -*-
และนี่คืออีกรูป ที่เห็นชัดๆว่าแอบเติมลายเกลียวเข้าไป ให้ดูเป็นประทัดครับ ... -*-
...
...
การเซนเซอร์แบบนี้ คนรักการ์ตูนมากๆมีโวยแน่ๆ เพราะทำต้นฉบับเพี้ยนทั้งภาพและการแปล!!
ดังนั้น ใครจะบอกว่าอเมริกาไม่เซนเซอร์กับเรื่องแค่นี้ คงไม่ใช่แล้วล่ะครับ
เพราะว่าเค้าจัดเรทหนังสือเป็น A หรือ All Ages ไปแล้ว ... เค้าก็เข้มกับกฎของเค้า

...
...
...
แต่จุดเด่น ที่อยากนำเสนอจริงๆ คือภาพต่อไปนี้ครับ
...
... พอมาเป็นโองาตะ ที่จุดบุหรี่ขึ้นมาสูบปุ๋ยๆ สำนักพิมพ์ของอเมริำกาไม่มีเซนเลยครับ

เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนี้ ผิดพลาดลืมเซนเซอร์งั้นหรือ?

จริงๆก็เป็นเพราะว่า การเซนเซอร์ของเค้า ไม่ใช่การเซนเซอร์โดยการปิดกั้น ไม่ให้รู้จักกับสิ่งๆนั้นครับ
ไม่ได้เซนเซอร์ไม่ให้เด็ก ไม่รู้จักกับบุหรี่
แต่เค้าเลือกที่จะเซนเซอร์โดยให้เด็กรู้จักบุหรี่ แต่ใครต่างหาก ที่จะเป็นคนสูบบุหรี่ได้?

ในช่วงของคางะนั้น คางะเป็นเด็กม.ต้นปี 3 ไม่เหมาะที่จะสูบบุหรี่
ทางเค้าก็เซนเซอร์เข้มไปเลยครับ ให้เป็นอย่างอื่นไปเลย จากบุหรี่กลายเป็นประทัด ไม่ต้องมาเดาด้วยว่ามันคืออะไร
...
แต่พอเป็น อ.โองาตะ นักเล่นโกะรุ่นเดอะ อายุก็น่าจะ 40 ปีได้ครับ
พอเป็นครั้งนี้ ยอมรับได้ ไม่ต้องเซนเซอร์เลยแม้แต่นิดเดียวครับ ^ ^

การเซนเซอร์แบบนี้ ส่วนตัวมองว่ากำหนดขอบเขตได้ดีครับ
เค้าไม่ได้ปิดตาเด็กของเค้าไม่ให้รู้จักบุหรี่ แต่เค้าเลือกที่สื่อออกมาว่าวัยใดที่ให้สูบได้ และวัยใด ไม่เหมาะสม
พอเค้าจัดเรทไว้แล้วเค้าก็เคร่งครัดในเรทของเค้า แต่แม้แต่สื่อระดับ A เรท ... ก็ยังมีเหตุมีผล ไม่ได้เลือกปิดตาเอาง่ายๆครับ ^ ^
เพราะถ้าหากปิดหูปิดตาเด็ก เด็กก็ต้องรู้อยู่แล้วว่าจริงๆเป็นอะไร แค่ไม่เห็นภาพก็เท่านั้นเอง พาลจะคิดจะจินตนาการกันไปเองซะอีก ... ซึ่งนั่นเป็นวิธีการที่ประเทศไทยเราใช้มาตลอด อะไรไม่ดี บัง อะไรไม่ดี เบลอ กันแค่สองอย่างครับ ... ซึ่งส่วนตัวนั้น คิดว่าไม่ได้ช่วยอะไรเลย

ก็หวังว่า วันหนึ่ง การกำหนดเรทของไทยเรา ไม่ว่าจะหนัง ภาพยนตร์ หรือการ์ตูน
จะมีการกำหนดเรทของสื่อต่างๆและทำตามข้อกำหนดของเรทนั้นๆได้อย่างชัดเจนครับ ไม่ใช่เรทตามใจฉันอย่างทุกวันนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น